วัตถุประสงค์

บล็อกนี้จัดทำเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ เกี่ยวกับเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Computer n screen.svg
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ                ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ  (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ความหมายของข้อมูล                ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ความหมายของสารสนเทศสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
ลักษณะสารสนเทศที่ดีเนื้อหา (Content)
*    ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
*    ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
*    ความถูกต้อง (accuracy)
*    ความเชื่อถือได้ (reliability)
*    การตรวจสอบได้ (verifiability)
 รูปแบบ (Format)
*    ชัดเจน (clarity)
*    ระดับรายละเอียด (level of detail)
*    รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
*    สื่อการนำเสนอ (media)
*    ความยืดหยุ่น (flexibility)
*    ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
*    ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
*    การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
*    มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
*    ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
*    การมีส่วนร่วม (participation)
*    การเชื่อมโยง (connectivity)
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต      เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
คน (People)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศประสิทธิภาพ (Efficiency)
* ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
* ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
* ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
* ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น             
 ประสิทธิผล (Effectiveness)
* ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
* ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
* ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย  
* ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
* คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)








แหล่งสารสนเทศ


            แหล่งสารสนเทศ  (Information  Sources)  หมายถึง  สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย  และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ตามต้องการ แหล่งสารสนเทศแบ่งได้ดังนี้    
                     1.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่  ได้แก่  อนุสาวรีย์  โบราณสถาน  อุทยานแห่งชาติ  รวมถึงสถานที่จำลองด้วย  เช่น  ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่  จังหวัดศรีสะเกษ  อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  จังหวัดบุรีรัมย์  ปราสาทหินพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา  เมืองโบราณ  จังหวัดสมุทรปราการ  เป็นต้น  แหล่งสารสนเทศเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง  ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก   
                     2.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล  ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้รอบรู้ในสาขาต่าง ๆ  ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรง  เช่น  ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ  วะสี  ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ  สาขาการแพทย์  บานเย็น  รากแก่น  ได้รับยกย่องเป็นราชินีลูกทุ่งหมอลำ  เป็นต้น   
                     3.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ หรือสื่อมวลชน  ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะข้อมูลแบบปฐมภูมิ  ได้แก่  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้น  เช่น  การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ  นิทรรศการหรืองานแสดงต่าง ๆ  รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญ ๆ  เช่น  การปฎิวัติเมื่อวันที่  19  กันยายน  2549  เป็นต้น  รวมทั้งสาระความรู้ในเรื่องต่าง ๆ  ที่เป็นประโยชน์  โดยวิธีการแพร่กระจายเสียง  ภาพ  และตัวอักษร  ผ่านสื่อประเภทโทรทัศน์  วิทยุ  และหนังสือพิมพ์
                     4.  แหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต  เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก  เพราะหน่วยงานต่าง ๆ  รวมทั้งสถาบันวิจัย  มหาวิทยาลัย  สำนักข่าวสาร  และสมาคมวิชาชีพ  ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก  จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย
                     5.  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน   
                          5.1  ห้องสมุด  มีชื่อเรียกแตกต่างกันในภาษาอังกฤษใช้คำว่า  Library  ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า  Libraria  แปลว่า  ที่เก็บหนังสือ  มีรากศัพท์มาจากคำว่า  Liber  แปลว่าหนังสือ  ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศหลายรูปแบบ  ห้องสมุดแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน  แต่จะมีความแตกต่างกันตามประเภทของห้องสมุดโดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน  (สุวรรณ  อภัยวงศ์  และคนอื่น ๆ.  2552 : 11-12)
                    5.1.1  วัตถุประสงค์หลักห้องสมุดโดยทั่วไปมี  5  ประการดังนี้
                                                1)  เพื่อการศึกษา  (Education)
                                                2)  เพื่อข่าวสารความรู้  (Information)
                                                3)  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  (Research)
                                                4)  เพื่อความจรรโลงใจ  (Inspiration)
                                                5)  เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ  (Recreation)
                 5.1.2  ประเภทของห้องสมุด ซึ่งห้องสมุดนั้นสามารถจำแนกได้  5  ประเภท  ดังนี้
                                   1)  ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา  ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอน  สร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักเรียน  เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้ห้องสมุดอื่น ๆ
                                   2)  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  (College and University Library)  เป็นห้องสมุดระดับอุดมศึกษา  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ต่าง ๆ  ที่เปิดสอนตามหลักสูตร  งานวิจัย  โดยให้บริการสารสนเทศให้แก่นิสิต  นักศึกษา  อาจารย์  บุคลากรของสถาบัน  และรวมถึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย
                                  3)  ห้องสมุดเฉพาะ  (Special  Library)  เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งโดยหน่วยงานราชการ  บริษัท  สมาคม  ธนาคาร  ที่รวบรวมสารสนเทศเฉพาะในสาขาใดสาขาหนึ่ง  และให้บริการเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง  หรือบุคคลผู้สนใจเฉพาะเรื่องนั้น ๆ  เช่น  ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นต้น
                                  4)  ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  เป็นห้องสมุดของท้องถิ่นหรือชุมชน  โดยให้บริการกับบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดเพศ  เชื้อชาติ  วัย  และศาสนา  และมุ่งเน้นให้ผู้ใช้บริการใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง  ปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ซึ่งเนื้อหาทรัพยากรที่มีให้บริการในห้องสมุดประชาชนนั้นจะมีครบทุกสาขาวิชา
                                  5)  หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  ก่อตั้งเมื่อ  พ.ศ.  2488  ตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ถือได้ว่าเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศของชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ  และมีสาขาตามต่างจังหวัด เช่น  เชียงใหม่  จันทบุรี  ลาดกระบัง  สิงห์บุรี  สุพรรณบุรี  บุรีรัมย์  ชลบุรี  นครศรีธรรมราช  ตรัง  นครพนม  ภูเก็ต  ลำพูน  กาญจนบุรี  นครราชสีมา  สงขลา  เป็นต้น  ให้บริการการศึกษาค้นคว้าภายในไม่อนุญาตให้ยืมวัสดุออกนอกหอสมุด
                          5.2  ศูนย์สารสนเทศ  (Information  Center)  หมายถึง  แหล่งที่รวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  มีลักษณะคล้ายกับห้องสมุดเฉพาะ  แต่จะมีประสิทธิภาพในการบริการครบถ้วนกว่า  เช่น  มีบริการแปล  บริการยืมระหว่างห้องสมุด  และแลกเปลี่ยนสารสนเทศทั้งภายในและระหว่างประเทศ  เป็นต้น 
                          5.3  ศูนย์ข้อมูล  (Data  Center)  เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล  ซึ่งอยู่ในลักษณะตัวเลข  หรือข้อมูลดิบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานนั้นโดยตรงในการที่จะเผยแพร่และให้บริการ
                          5.4  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information  Analysis  Center)  มีหน้าที่เลือกสรร ประเมิน  จัดเก็บและนำเสนอข้อสารสนเทศเฉพาะวิชา  ซึ่งไม่มีการตีพิมพ์ในที่ใดแต่จะมีประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลและนักวิชาการ
                          5.5  ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศ  (Clearing  House)  เป็นหน่วยงานที่รวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการด้านอ้างอิง  โดยให้บริการในลักษณะของบรรณานุกรม  หรือดรรชนี  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
                          5.6  ศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศ  (Referral  Center)  หมายถึง  หน่วยงานที่ให้บริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้  โดยการแนะนำไปยังแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ  โดยศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศนี้จะมีบรรณานุกรมหรือรายชื่อแหล่งสารสนเทศต่างๆ  ที่จัดทำขึ้นและจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ


ประเภทของสารสนเทศ

ประเภทของสารสนเทศ
          การจำแนกประเภทสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดหาเข้าไว้ในสถาบันและจัดเก็บเพื่อให้บริการมีวิธีจำแนกได้หลายแบบที่เป็นที่นิยม  คือ  การจำแนกประเภท ตามแหล่งสารสนเทศและตามประเภทของสื่อบันทึกสารสนเทศ  (มาลี  ล้ำสกุล.  2551 : 8-10)
     1.  สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ  หมายถึง  การจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
          1.1  สารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ  (Primary Source)  หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการที่เกี่ยวกับความริเริ่ม  ซึ่งผลิตออกมาในลักษณะการเผยแพร่ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย การค้นพบทฤษฎีใหม่ให้นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยในวิชาชีพร่วมสาขาได้ศึกษา  วิพากษ์วิจารณ์  และอาจใช้เป็นแนวทางเพื่อการศึกษาค้นคว้าและ ทำวิจัยต่อไป
          สารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ ซึ่งเผยแพร่ในลักษณะของสิ่งพิมพ์  ได้แก่  วารสาร รายงานการวิจัย  รายงานการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุและวิทยานิพนธ์  และที่เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น  วารสารอิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น
          1.2  สารสนเทศจากแหล่งทุติยภูมิ  (Secondary  Source)  เป็นสารสนเทศที่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่จากสารสนเทศที่มีการเผยแพร่แล้ว  หรือหมายถึง  จากสารสนเทศปฐมภูมิ ลักษณะการรวบรวมและเรียบเรียง อาจจัดทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง  เช่น  รวบรวม  สรุป  ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่  ทำดรรชนีและสาระสังเขป  ทั้งนี้มีลักษณะการเรียบเรียงเพื่อให้ใช้ข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว เข้าใจได้ง่ายขึ้น  ได้แก่  สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ  วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมทั้งหนังสือตำราที่จัดทำโดยรวบรวมเนื้อหาวิชาการสาขาต่าง ๆ  เพื่อการเรียนการสอน
          1.3  สารสนเทศจากแหล่งตติยภูมิ  (Tertiary  Source)  เป็นสารสนเทศที่จัดทำในลักษณะรวบรวมขึ้น  เพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  สารสนเทศจากแหล่งตติยภูมิไม่ให้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับความรู้สาขาวิชาการต่าง ๆ  โดยตรง  แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาได้  สารสนเทศประเภทนี้  ได้แก่  บรรณานุกรม  นามานุกรม  หนังสือแนะนำวรรณกรรมเฉพาะสาขาวิชา  และบรรณนิทัศน์  
          สารสนเทศประเภทแหล่งตติยภูมิ  มีลักษณะการจัดทำที่คล้ายกับสารสนเทศทุติยภูมิ  ดังนั้น ในตำราบางเล่มจึงจัดสารสนเทศตติยภูมิรวมไว้เป็นประเภททุติยภูมิ และสารสนเทศทั้งสองแบบนี้  ปัจจุบันมีการจัดทำบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ออกเผยแพร่อย่างแพร่หลาย  โดยเฉพาะสารานุกรม  พจนานุกรม  นามานุกรม  บรรณานุกรม  ดรรชนีวารสารและสาระสังเขป  ซึ่งจัดเก็บข้อมูลไว้ในซีดี-รอมและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้บริการทางออนไลน์  
                          แผนภูมิที่  1.2  ประเภทของสารสนเทศ
            2.  สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ   การจำแนกสารสนเทศตามสื่อที่จัดเก็บ หรือ สื่อที่ใช้บันทึกความรู้เป็นการจำแนกตามพัฒนาการของวัตถุที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้เขียนหรือบันทึกความรู้ ได้แก่
           2.1  กระดาษ  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ได้ง่าย  และมนุษย์ได้ใช้บันทึกความรู้ ประสบการณ์ จนกระทั่งเป็นความคุ้นเคยของมนุษย์ในการขีดเขียน การพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ ความรู้เพื่อเผยแพร่ในสังคม สิ่งพิมพ์ในลักษณะกระดาษได้แก่  วารสาร  หนังสือ  เอกสารต่าง ๆ แบบฟอร์มที่ใช้กันในสำนักงาน
          2.2  วัสดุย่อส่วน  หรือไมโครฟอร์ม  (Microform)  คือ  สื่อบันทึกสารสนเทศ ที่เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูป  เอกสารย่อส่วนในขนาดต่าง ๆ  ลงบนฟิล์ม  ประเภทฟิล์มม้วนเรียกว่า ไมโครฟิล์ม  (Microfilm)  และฟิล์มแผ่นเรียกว่า  ไมโครฟิช  (Microfiche)  การถ่ายรูปเนื้อหาเอกสารบนฟิล์มจะเรียงตามลำดับเนื้อหาตามต้นฉบับ  วัสดุย่อส่วนใช้จัดเก็บสำเนาต้นฉบับ ทั้งที่เป็นวารสาร  เอกสารจดหมายเหตุ  เอกสารสำคัญ  วิทยานิพนธ์  เป็นต้น
          2.3  สื่อแม่เหล็ก  เป็นวัสดุสารสังเคราะห์ที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถใช้บันทึกและแก้ไขปรับปรุงข้อมูลได้อย่างสะดวก  การใช้สื่อแม่เหล็กเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางและจัดเก็บข้อมูล  ทั้งที่เป็นอะนาล็อก  (Analog) และดิจิทัล  (Digital) สื่อแม่เหล็กที่จัดเก็บข้อมูล อะนาล็อก  เช่น  วีดิทัศน์   และเทปบันทึกเสียง  ซึ่งจัดเก็บข้อมูลทั้งภาพและเสียง  สื่อแม่เหล็กที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล  เช่น  เทปแม่เหล็ก  ฮาร์ดดิสก์  (Harddisk)  และดิสเก็ต  (Diskette) ในปัจจุบันสื่อเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้บรรจุข้อมูลได้ปริมาณมากและปรับแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
           2.4  สื่อแสงหรือออปติก  (Optical  Media)  เป็นสื่อที่บันทึกข้อมูล  และอ่านข้อมูลโดยใช้แสงเลเซอร์  ข้อมูลที่บันทึกลงสื่อแสงเป็นข้อมูลดิจิทัล  สื่อแสงแบ่งประเภทเป็นสื่อที่อ่านได้เพียงอย่างเดียว  เช่น  ซีดี-รอม (Computer Disk-Read Only Memory) และดีวีดี  (Digital Versatile  Disk  =  DVD)  มีความจุมากกว่านิยมใช้บันทึกภาพยนตร์

การใช้สารสนเทศ
                   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ  จึงจำเป็นต้องรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสารสนเทศนั้น  สิ่งที่ควรรู้  ได้แก่  (สุวรรณ  อภัยวงศ์  และคนอื่น ๆ.  2552 : 7)
                     1.  แหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ  การที่เราต้องการรู้สารสนเทศอย่างหนึ่ง  เราควรรู้ว่าสารสนเทศนั้นมีอยู่ที่ใด  หรือน่าจะมีอยู่ที่ใด  เช่น  ถ้าอยากรู้เรื่องของการเกษตรที่ยั่งยืนแหล่งของสารสนเทศในกรณีนี้  ได้แก่  เว็บไซต์  หนังสือพิมพ์  ข่าวทางโทรทัศน์  วิทยุ  และแหล่งสารสนเทศบุคคล  เป็นต้น
                     2.  วิธีเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แหล่งสารสนเทศแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดในการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้  เช่น  กำหนดประเภทและขอบเขตของผู้ใช้  มีกำหนดวันเวลาบริการ  เป็นต้น  เราจึงควรรู้รายละเอียดเหล่านี้ก่อน  เพื่อป้องกันอุปสรรคและความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้น  ตลอดจนขอบข่ายเนื้อหาสาระของสารสนเทศนั้นคือต้องรู้ว่าสารสนเทศที่มีอยู่นั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ให้รายละเอียดในลักษณะใด เช่น ค้นได้เฉพาะบทคัดย่อ (Abstract) หรือฉบับเต็ม (Full Text)
                     3.  วิธีค้นหาและ/หรือค้นคืน  (Retrieval)  ผู้ใช้จะต้องรู้วิธีการจัดเก็บสารสนเทศของแหล่งสารสนเทศที่จะเข้าใช้  เช่น  รู้วิธีใช้  OPAC  รู้วิธีค้นจากอินเทอร์เน็ต  รู้วิธีการเรียง เลขเรียกหนังสือ  รู้วิธีการใช้ดรรชนี  รู้วิธีค้นหาเรื่องราวจากหนังสือ  วารสาร  ฐานข้อมูล  เป็นต้น  (รายละเอียดในบทที่  5)

หลักการคัดเลือกสารสนเทศ
                     การคัดเลือกพิจารณาข้อมูลมีหลักการดังนี้  (วาณี  ฐาปนวงศ์ศานติ.  2534 : 11)
                     1.  พิจารณาข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการใช้
                     2.  พิจารณาข้อมูลปฐมภูมิก่อน  ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอจึงใช้ข้อมูลทุติยภูมิ
                     3.  ถ้าเป็นข้อเท็จจริง  ต้องเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด  เช่น  ข้อมูลทางสถิติตัวเลข
                     4.  เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้  พิจารณาจากส่วนประกอบของข้อมูล  หลักฐาน  การอ้างอิงและการใช้ภาษา
                     5.  ควรพิจารณาใช้ข้อมูลที่เปิดเผยได้ สามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่มีข้อจำกัด
                     6.  ถ้ามีข้อมูลที่ใกล้เคียงกันให้เปรียบเทียบพิจารณาถึงความแตกต่าง  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อเรื่องที่จัดทำ
                     7.  ใช้วิจารณญาณเลือกข้อมูลที่ไม่มีการลำเอียง  ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือขนบประเพณี  การคัดเลือกข้อมูลเป็นการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศเบื้องต้นด้วยกระบวนการวิเคราะห์และตัดสินใจ  ใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพโดยวิเคราะห์ลักษณะและประโยชน์จากส่วนประกอบของข้อมูลสารสนเทศแต่ละประเภท  ความน่าเชื่อถือ  นอกจากนั้นยังมีการพิจารณาสารสนเทศที่มีดังแผนภูมิที่  1.3

มารู้จักกับชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์

ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์

ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คุณอาจรู้แล้วว่าไม่มีชิ้นส่วนใดสักชิ้นที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์" คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในความเป็นจริงคือระบบของชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นที่ทำงานร่วมกัน ชิ้นส่วนของจริงซึ่งคุณมองเห็นและจับต้องได้เรียกรวมกันว่า ฮาร์ดแวร์ (ในทางกลับกัน ซอฟต์แวร์ หมายถึงคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำตาม)
ภาพข้างล้างแสดงถึงฮาร์ดแวร์ทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ที่พบในระบบคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณอาจดูแตกต่างจากนี้เล็กน้อย แต่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ คอมพิวเตอร์แบบแล็ปท็อปมีชิ้นส่วนที่คล้ายคลึงกัน แต่รวบรวมชิ้นส่วนทั้งหมดจัดลงในแพคเกจขนาดโน้ตบุ๊ก
รูปภาพของระบบคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป
ระบบคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
ลองพิจารณาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นกัน

หน่วยระบบ

หน่วยระบบ คือส่วนหลักของระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางอยู่บนหรือใต้โต๊ะของคุณ ข้างในกล่องนี้บรรจุด้วยส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์มากมายที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ส่วนที่สำคัญที่สุดในบรรดาส่วนประกอบทั้งหลายนี้คือ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หรือ หน่วยประมวลผล ซึ่งทำงานในฐานะ "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ของคุณ ส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งคือ Random Access Memory (RAM) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ CPU ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน RAM จะถูกลบทุกครั้งที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ชิ้นส่วนอื่นๆ แทบทุกชิ้นส่วนในคอมพิวเตอร์ของคุณเชื่อมต่อกับหน่วยระบบผ่านทางสายเคเบิล สายเคเบิลทั้งหลายต่อเข้ากับ พอร์ต ที่กำหนดเฉพาะ (การเปิด) ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ด้านหลังหน่วยระบบ ฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยระบบ บางครั้งเรียกว่า อุปกรณ์เสริม หรือ อุปกรณ์
รูปภาพของหน่วยระบบ
หน่วยระบบ


ที่เก็บข้อมูล

คอมพิวเตอร์ของคุณมีอุปกรณ์ ดิสก์ไดรฟ์ หนึ่งชุดหรือมากกว่านั้นสำหรับใช้เก็บข้อมูลลงบนดิสก์แบบโลหะหรือแบบพลาสติก ดิสก์สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้แม้ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ของคุณปิดเครื่อง

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นแผ่นจานแข็งหนึ่งแผ่นหรือกองซ้อนของแผ่นจานหลายแผ่นฉาบผิวด้วยแม่เหล็ก เนื่องจากฮาร์ดดิสก์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลได้ โดยปรกติจึงใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูลหลักให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งได้แก่โปรแกรมและแฟ้มต่างๆ เกือบทั้งหมด ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โดยทั่วไปบรรจุอยู่ด้านในหน่วยระบบ
รูปภาพของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

ไดรฟ์ซีดีและไดรฟ์ดีวีดี

คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เกือบทุกเครื่องจะมีไดรฟ์ซีดีหรือดีวีดีมาพร้อมกับตัวเครื่อง โดยปกติติดตั้งอยู่ด้านหน้าของหน่วยระบบ ไดรฟ์ซีดีใช้แสงเลเซอร์ในการอ่าน (เรียก) ข้อมูลจากแผ่นซีดี และไดรฟ์ซีดีหลายๆ ตัวยังสามารถเขียน (บันทึก) ข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้ด้วย ถ้าคุณมีดิสก์ไดรฟ์แบบบันทึกได้ คุณสามารถเก็บสำเนาแฟ้มทั้งหลายของคุณลงบนแผ่นซีดีเปล่า และยังใช้ไดรฟ์ซีดีเล่นซีดีเพลงจากคอมพิวเตอร์ของคุณได้เช่นกัน
รูปภาพของซีดี
ซีดี
ไดรฟ์ดีวีดีสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ไดรฟ์ซีดีทำได้ และยังสามารถอ่านแผ่นดีวีดีได้ด้วย ถ้าคุณมีไดรฟ์ดีวีดี คุณสามารถดูภาพยนตร์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ไดรฟ์ดีวีดีหลายๆ ตัวบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดีเปล่าได้
เคล็ดลับ

เคล็ดลับ

ถ้าคุณมีไดรฟ์ซีดีหรือไดรฟ์ดีวีดีแบบบันทึกได้ ให้สำรอง (คัดลอก) แฟ้มที่สำคัญของคุณเก็บลงในแผ่นซีดีหรือดีวีดีเป็นครั้งคราว เพราะในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์สีย คุณจะไม่สูญเสียข้อมูลของคุณไป

ไดรฟ์ของแผ่นดิสก์

ไดรฟ์ของแผ่นดิสก์ใช้เก็บข้อมูลลงบน ฟลอปปีดิสก์ เรียกอีกชื่อว่า ฟลอปปี หรือแผ่นดิสก์ เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นซีดีและดีวีดี แผ่นฟลอปปีดิสก์ใช้เก็บข้อมูลได้ปริมาณน้อยกว่า อีกทั้งเรียกข้อมูลได้ช้ากว่าและเสี่ยงต่อความเสียหายได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้ ไดรฟ์ของแผ่นดิสก์จึงได้รับความนิยมน้อยกว่าที่เคย แม้กระนั้นคอมพิวเตอร์บางเครื่องยังคงบรรจุไดรฟ์ของแผ่นดิสก์ไว้
รูปภาพของฟลอปปีดิสก์
ฟลอปปีดิสก์
ทำไมจึงเรียกฟลอปปีดิสก์ว่า "ฟลอปปี" (floppy) ถึงแม้ว่าด้านนอกทำจากพลาสติกแข็ง แต่ก็เป็นเพียงปลอกหุ้มเท่านั้น ส่วนแผ่นดิสก์ข้างในทำจากวัสดุไวนิลที่บอบบางและยืดหยุ่นได้


เมาส์

เมาส์เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับชี้และเลือกรายการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าเมาส์ผลิตออกมาหลายรูปร่าง แต่โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับหนูที่เป็นสัตว์จริง เมาส์มีขนาดเล็ก เป็นรูปรี และเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบด้วยสายยาวซึ่งดูคล้ายกับหางหนู เมาส์ออกใหม่บางตัวเป็นแบบไร้สาย
รูปภาพของเมาส์คอมพิวเตอร์
เมาส์
โดยปกติเมาส์ประกอบด้วยปุ่ม 2 ปุ่ม คือปุ่มหลัก (มักเป็นปุ่มซ้าย) หนึ่งปุ่มและปุ่มรองหนึ่งปุ่ม เมาส์หลายๆ ตัวยังมีล้อระหว่างปุ่มทั้งสองด้วย ซึ่งทำให้คุณเลื่อนข้อมูลผ่านหน้าจอได้อย่างคล่องตัว
รูปภาพของตัวชี้เมาส์
เมื่อคุณเลื่อนเมาส์ด้วยมือของคุณ ตัวชี้บนหน้าจอของคุณจะเลื่อนตามไปในทิศทางเดียวกัน (ลักษณะที่ปรากฏของตัวชี้เมาส์อาจเปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่ชี้บนหน้าจอของคุณ) เมื่อต้องการเลือกรายการ ให้คุณชี้เมาส์ไปที่รายการนั้น แล้วจากนั้นให้คลิก (กดและปล่อย) ปุ่มหลัก การชี้และการคลิกด้วยเมาส์เป็นแนวทางหลักที่ใช้โต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ การใช้เมาส์


แป้นพิมพ์

แป้นพิมพ์เป็นส่วนสำคัญสำหรับใช้พิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ แป้นพิมพ์ประกอบด้วยแป้นตัวอักษรและตัวเลขเหมือนกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์พิเศษเพิ่ม ได้แก่
  • แป้นฟังก์ชัน ที่อยู่แถวบนสุด ทำหน้าที่ต่างๆ กันขึ้นกับว่าใช้แป้นฟังก์ชันนั้นที่ไหน
  • แป้นพิมพ์ตัวเลข ที่อยู่ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ทั้งหมด ช่วยให้คุณใส่ตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว
  • แป้นนำทาง เช่นแป้นพิมพ์ลูกศรต่างๆ ช่วยคุณย้ายตำแหน่งภายในเอกสารหรือเว็บเพจ
รูปภาพของแป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์
คุณสามารถใช้แป้นพิมพ์ทำงานในลักษณะเดียวกับที่คุณทำงานด้วยเมาส์ได้อีกด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ การใช้แป้นพิมพ์


จอภาพ

จอภาพ ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบตามที่เห็นผ่านทางข้อความและกราฟิก ส่วนของจอภาพที่แสดงผลข้อมูลเรียกว่า หน้าจอ หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนกับหน้าจอโทรทัศน์
จอภาพชนิดพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และจอภาพแบบLCD (Liquid Crystal Display) ทั้งสองชนิดให้ภาพคมชัด แต่จอภาพแบบ LCD ได้เปรียบตรงที่บางและน้ำหนักเบากว่ามาก อย่างไรก็ตามจอภาพแบบ CRT หาซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่า
รูปภาพของจอภาพ LCD และ CRT
จอภาพ LCD (ซ้าย) จอภาพ CRT (ขวา)


เครื่องพิมพ์

เครื่องพิมพ์ใช้ถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปสู่กระดาษ คุณไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์เมื่อคุณใช้งานคอมพิวเตอร์ แต่การมีสักเครื่องหนึ่งทำให้คุณสามารถพิมพ์อีเมล นามบัตร บัตรเชิญ ใบประกาศ และเอกสารอื่นๆ ได้ คนจำนวนมากยังนำไปใช้พิมพ์รูปถ่ายของตัวเองที่บ้านอีกด้วย
เครื่องพิมพ์มี 2 ชนิดที่สำคัญคือ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต กับ เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตเป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามบ้าน สามารถพิมพ์ได้ทั้งแบบขาวดำหรือแบบครบทุกสี และสามารถพิมพ์รูปถ่ายที่มีคุณภาพสูงเมื่อใช้กับกระดาษชนิดพิเศษ เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ทำงานได้รวดเร็วกว่าและโดยทั่วไปสามารถพิมพ์งานจำนวนมากได้ดีกว่า
รูปภาพของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (ซ้าย) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (ขวา)


ลำโพง

ลำโพงใช้เล่นเสียง โดยอาจติดตั้งอยู่ภายในหน่วยระบบแล้ว หรือเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิล ลำโพงช่วยให้คุณฟังเพลงและเสียงประกอบจากคอมพิวเตอร์ของคุณได้
รูปภาพของลำโพงคอมพิวเตอร์
ลำโพงคอมพิวเตอร์


โมเด็ม

ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเทอร์เน็ต คุณจำเป็นต้องใช้โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งและรับข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ไปตามสายโทรศัพท์หรือเคเบิลความเร็วสูง บางครั้งโมเด็มได้รับการติดตั้งอยู่ในหน่วยระบบ แต่โมเด็มความเร็วสูงโดยปกติเป็นอุปกรณ์แยกต่างหาก
รูปภาพของเคเบิลโมเด็ม
เคเบิลโมเด็ม

ลูกอม จ๊วบๆๆ

ยินดีตอนรับ Blogger เบญจมาศ  อดทน Blog นี้ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร็เน็ตในชีวิตประจำวัน